HRDs being interviewed by journalists

News

JOINT STATEMENT IN THAI ON THE REPRISALS AGAINST HRDS IN THAILAND

13 June 2016

แถลงการณ์ร่วม วันที่ 13 มิถุนายน 2559

แถลงการณ์เกี่ยวกับการตอบโต้นักปกป้องสิทธิมนุษยชน น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ น.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะ และ นายสมชาย หอมลออ

พวกเราซึ่งเป็นหน่วยงานภาคประชาสังคมที่มีรายชื่อด้านล่าง กังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับกรณีที่กองทัพบกได้แจ้งความดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาททางอาญาและพระราชบัญญัติการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิง คือ น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ น.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะ และนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นายสมชาย หอมลออ  น.ส.พรเพ็ญเป็นผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม (มสผ.) ซึ่งติดตามและรายงานกรณีการซ้อมทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายในไทย และนายสมชายเป็นประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ส่วนน.ส.อัญชนาเป็นผู้อำนวยการกลุ่มด้วยใจ หน่วยงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งทำงานช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากระบบยุติธรรม รวมทั้งถูกดำเนินคดีด้านความมั่นคง บุคคลทั้งสามเป็นบรรณาธิการร่วมของรายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีในจังหวัดชายแดนใต้ปี 2557-2558[1] ซึ่งรวบรวมกรณีการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรมระหว่างการควบคุมตัว 54 กรณี มีการเปิดตัวรายงานเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 งานวิจัยและรายงานดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งจากกองทุนสหประชาชาติเพื่อเหยื่อจากการซ้อมทรมาน ซึ่งก่อตั้งภายใต้สมัชชาแห่งสหประชาชาติ ที่ 36/151 ใรปี 1981 และเป็นไปตามมติที่ 12/2 ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและผู้ร่วมงานเหล่านี้ต่างเป็น “บุคคลซึ่งร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ หน่วยงานที่เป็นตัวแทนและกลไกอื่น ๆ ด้านสิทธิมนุษยชน” นอกจากนั้น กลุ่มบุคคลที่จัดทำรายงานนี้ยังพยายามระดมทุนเพื่อตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือเหยื่อการซ้อมทรมานอย่างเป็นระบบ

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2559 น.ส. พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ได้รับแจ้งข้อมูลทางโทรศัพท์จากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ว่าทางหน่วยงานได้รับมอบอำนาจจากกองทัพบกและได้แจ้งความดำเนินคดีที่สภ.เมืองยะลา เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2559 ในความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญาและความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากการกระทำของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งสามคน เป็นข้อกล่าวหาหมิ่นประมาททางอาญาตามมาตรา 328 ประมวลกฎหมายอาญา และละเมิดมาตรา 14(1) พระราชบัญญัติการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550[2] เรากังวลใจอย่างยิ่งกับข้อมูลที่ว่าทางการไทยได้สอบปากคำพยานหกรายแล้ว ตามสำนวนการสอบสวนที่ 704/2559

การดำเนินคดีครั้งนี้เกิดขึ้นแม้ผู้ทีจัดทำรายงานได้ใช้ความพยายามหาทางร่วมมืออย่างที่สุดกับหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับหลักฐานการซ้อมทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ตามที่นำเสนอในรายงาน กล่าวคือมีการส่งมอบรายงานให้กับพลโทวิวรรธน์ ปฐมภาคย์ แม่ทัพภาคที่ 4 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2559 อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลทหารประกาศต่อสื่อ โดยปฏิเสธข้อมูลในรายงาน ทั้งยังตั้งคำถามเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการเขียนรายงาน นอกจากนั้นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงน.ส.อัญชนา  ยังได้รับคำสั่งเรียกตัวไปที่ค่ายทหาร ถูกสอบปากคำโดยเจ้าหน้าที่ทหารเป็นเวลานาน ทั้งยังถูกคุกคามและติดตามตัวโดยชายในชุดเครื่องแบบแต่ไม่ทราบชื่อ[3]

เราเห็นว่าปฏิบัติการของกองทัพไทยเป็นการตอบโต้กับความพยายามของกลุ่มภาคประชาสังคม ที่พยายามกระตุ้นให้ทางการสนใจปัญหาการใช้อำนาจอย่างมิชอบและการปฏิบัติที่โหดร้ายต่อผู้ถูกควบคุมตัวในไทย กองทัพได้ดำเนินการเหล่านี้แม้ในช่วงที่รัฐบาลทหารไทยแสดงพันธกิจต่อประชาคมระหว่างประเทศที่จะยกเลิกการทรมาน เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2559 ในระหว่างการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UPR)  มีการเน้นย้ำถึงปัญหาการซ้อมทรมานและการลอยนวลพ้นผิดของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการซ้อมทรมาน ในระหว่างการประชุม UPR รัฐภาคีสหประชาชาติ 12 แห่งมีข้อเสนอแนะโดยตรงเกี่ยวกับการป้องกันการซ้อมทรมานและการจัดให้เหยื่อการซ้อมทรมานเข้าถึงความยุติธรรม นอกจากนั้น ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 รัฐบาลทหารมีมติคณะรัฐมนตรีระบุว่า จะมีการเห็นชอบต่อพระราชบัญญัติป้องกันการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย เป็นเรื่องน่ากังวลอย่างยิ่งที่รัฐบาลทหารชุดเดียวกันกลับสั่งให้ดำเนินคดีทางอาญาต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งดำเนินการสนับสนุนเหยื่อการซ้อมทรมาน รวมทั้งรณรงค์ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปด้านนโยบายและการปฏิบัติของรัฐ เพื่อป้องกันการซ้อมทรมานและอำนวยความยุติธรรมให้กับผู้เสียหาย

เราเห็นว่าปฏิบัติการของกองทัพบกไม่ชอบด้วยเหตุผล กระทำโดยพลการ และเป็นการตอบโต้ที่หนักหน่วงเพื่อป้องกันไม่ให้มีการฟ้องร้องกรณีการซ้อมทรมานของเจ้าหน้าที่ กองทัพบกเพียงแต่มุ่งยับยั้งความพยายามของน.ส.พรเพ็ญ น.ส.อัญชนาและนายสมชายในการช่วยเหลือให้ผู้เสียหายจากการซ้อมทรมาน ให้สามารถประกาศต่อสาธารณะว่าได้ถูกเจ้าหน้าที่ละเมิดสิทธิ การกระทำเช่นนั้นยิ่งทำให้ผู้เสียหายจากการซ้อมทรมานไม่สามารถร้องเรียนปัญหาของตนเองได้ นอกจากนั้น ถือเป็นการกระทำที่น่าเสียใจของกองทัพบก เนื่องจากมุ่งคุกคามต่อผู้เสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและอาจจะเกิดขึ้น เป็นเหตุให้ไม่กล้ารายงานข้อมูลการละเมิด แทนที่จะปราบปรามการดำเนินงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างน.ส.พรเพ็ญ น.ส.อัญชนาและนายสมชาย กองทัพบกควรดำเนินการตามข้อเสนอแนะของตัวแทนประเทศนิวซีแลนด์ระหว่างการประชุม UPR ให้ “ดำเนินการสอบสวนและดำเนินคดีโดยทันทีต่อข้อกล่าวหาว่ามีการซ้อมทรมานและการวิสามัญฆาตกรรม” และตามข้อเสนอแนะของตัวแทนประเทศแคนาดาที่ว่า “ให้จัดตั้งหน่วยงานอิสระเพื่อสอบสวนตามข้อกล่าวหาการซ้อมทรมานทั้งปวง รวมทั้งกรณีที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนใต้ และให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด” ,” และตามข้อเสนอของประเทศคานาดาที่เสนอให้ จัดตั้งสถาบันอิสระเพื่อทำการสอบสวนข้อกล่าวหาการทรมานทุกกรณี รวมถึงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษทางกระบวนการยุติธรรม

การใช้กระบวนการทางกฎหมายเพื่อคุกคามครั้งนี้ถือเป็นการละเมิดโดยตรงต่อสิทธิของน.ส.พรเพ็ญน.ส.อัญชนาและนายสมชาย ในการทำงานในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทย ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 1 ของปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน “บุคคลทุกคนมีสิทธิ (ทั้งโดยส่วนตัวและร่วมกับคนอื่น) ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ” เราเชื่อว่าการฟ้องคดีอาญาต่อน.ส.พรเพ็ญน.ส.อัญชนาและนายสมชายครั้งนี้ เป็นการดำเนินงานเพื่อตอบโต้ และเป็นผลมาจากการปฏิบัติโดยสงบและชอบด้วยกฎหมายของน.ส.พรเพ็ญน.ส.อัญชนาและนายสมชายที่จะกดดันให้ทางการต้องรับผิดชอบต่อกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการซ้อมทรมานในภาคใต้ของไทย

เราเรียกร้องกองทัพบกให้

  • ถอนฟ้องคดีต่อน.ส.พรเพ็ญน.ส.อัญชนาและนายสมชายโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข การดำเนินคดีต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างชอบด้วยกฎหมายของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเช่นนี้ ถือว่าขัดแย้งต่อประโยชน์สาธารณะ
  • ประกันว่าจะไม่มีการตอบโต้เพิ่มเติมหรืออนุญาตให้มีการตอบโต้นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ผู้เสียหายจากการปฏิบัติที่โหดร้ายและการซ้อมทรมาน ผู้ร่วมงานและครอบครัวของพวกเขาภ

เราเรียกร้องรัฐบาลไทยให้

  • เคารพสิทธิ หน้าที่และพันธกรณีซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลของบุคคลทุกคนและหน่วยงานที่จะรายงานข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนและความอยุติธรรมต่อสาธารณะ ตามที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
  • ประกันว่าบุคคลทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากการซ้อมทรมานและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างอื่น จะได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งได้รับสิทธิในการร้องเรียนถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
  • ทำให้มั่นใจว่าจะยอมรับและปฏิบัติตามข้อเสนอจากการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UPR)เรื่องนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

ลงนาม:

Thailand

Aanglumphong Conservation Groups and Archaeological Site กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอ่างลำพอกและโบราณสถาน สุรินทร์

Assembly of the Poor สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล

Centre for Community Rights to Manage Natural Resources, Chi Basin ศูนย์พิทักษ์สิทธิการจัดการทรัพยากรชุมชนลุ่มน้ำชี

Center to Study and Develop Law for Human Rights ศูนย์ศึกษาและพัฒนานักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยนชน

Centre to Study and Ecology Habitation of Community Culture in Phetchabun ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูนิเวศวัฒนธรรมชุมชนเทือกเขาเพชรบูรณ์

Chi Basin Network, Yasothon เครือข่ายน้ำชี จังหวัดยโสธร

Community Resource Centre (CRC) มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน

Campaign Committee for Human Rights (CCHR)คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)

Empower Foundation เอ็มพาวเวอร์

E-saan Human Rights and Peace Information Centre ศูนย์ข้อมูลสิทธิมุษยชนและสันติภาพ

E-saan Land Reform Network เครือข่ายปฎิรูปที่ดินภาคอีสาน

E-saan Network on Natural Resources and Environmental เครือข่ายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน

Foundation for Muslim Attorneys Center มูลนิธิเพื่อศูนย์ทนายความมุสลิม

Foundation for Women มูลนิธิผู้หญิง

Gender equality promoting foundation มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม

Human Rights Lawyers’ Association (HRLA) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนษยชน

Land Watch Working Group กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน

Mplus Foundation

Namoon Environmental Conservation Group กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านนามูล-ดูนสาด

Network of Indigenous Peoples in Thailand (NIPT) เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.)

Network of Thaiban People Deprived of Rights เครือข่ายไทบ้านผู้ไร้สิทธิ์ สกลนคร

People’s Empowerment Foundation

Prorights Foundation มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

Southern Peasant Federation of Thailand (SPFT) สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ – สกต

Saiburi river association สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี

Thai Committee for Refugees Foundation (TCR)

Thai Development Support Center (TDSC) ศูนย์เผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา(ผสพ)

Thai Working Group for ASEAN Human Rights Mechanism คณะทำงานไทยเพื่อกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน

Togetherness for Equality and Action (TEA) โรงน้ำชา

Udonthani Environmental Conservation Group กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดร

Union for Civil liberty (UCL) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน

WARTANI Media Agency สำนักสื่อ Wartani

WE PEACE สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ

Women Struggle for Livelihood กลุ่มหญิงสู้ชีวิต.

WeMove ขบวนผู้หญิงปฎิรูปประเทศไทย

Women Network for Advancement and Peace เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ

Work and Environment Related Patient’s Network of Thailand (WEPT  สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย

Beyond Thailand

Association of Human Rights Defenders and Promoters (HRDP, Myanmar)

Center for Women’s Global Leadership (USA)

Malaysians Against Death Penalty and Torture (MADPET)

Malaysian Humanist and Rationalist Movement (MyHARAM)

National Free Trade Union (Sri Lanka)

North South Initiative (Malaysia)

PINAY (Filipino Women’s Organization in Quebec)

PUSAT KOMAS (Malaysia)

Safety and Rights Society (Bangladesh)

The Vietnam Committee on Human Rights (France)

Think Centre (Singapore)

Vietnam Indigenous Knowledge Network (VTIK)

Workers Hub For Change (WH4C, Malaysia)

Regional/International

Amnesty International

ASEAN Youth Forum

Asia Indigenous Peoples Pact (AIPP)

Asia Pacific Forum on Women, Law and Development (APWLD)

AWID

Center for Sustainable Development in Mountainous Areas (CSDM, Vietnam)

Civil Rights Defenders

Focus on the Global South

International Labor Rights Forum (ILRF)

The Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA)

FIDH, within the framework of the Observatory for the Protection of Human Rights Defenders

Migrant Forum in Asia (MFA)

Nazra for Feminist Studies

Network of Patani’s Citizens Outside the Motherland

Protection International

Southeast Asian Press Alliance (SEAPA)

UPR Info Asia

Urgent Action Fund for Women’s Human Rights

Urgent Action Fund Latin America

Women Living Under Muslim Laws

World Organisation Against Torture (OMCT), within the framework of the Observatory for the Protection of Human Rights Defenders

Individuals

Ms.  Kanungnit Makchuchit  คนึงนิจ  มากชูชิต

Ms. Naiyana  Waikham นัยนา  หวายคำ

Ms. Chantawipa   Apisuk จันทวิภา อิสุข

Mr. Jumpol  Apisuk จุมพล อภิสุข

Mr. Bordin Saisaeng Researcher, Institute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University บดินทร์ สายแสง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

Chompunut Chalieobun ชมพูนุท เฉลียวบุญ

Dr. Eakpant Pidavanija Lecturer, Institute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

Mr. Ismail Hajiwaechi นายอิสมาอีล ฮายีแวจิ

Assistant Professor Dr Naruemon Thabchumpon, Political Science Faculty, Chalulongkron University ผศ.ดร. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Lecturer Ngamsuk Rattanasatian Lecturer, Institute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

Mrs. Ruengrawee Pichaikul นางเรืองรวี พิชัยกุล

Sor Rattanamanee Polkla, Lawyer

Thaweesak Pi, Social Activist นายทวีศักดิ์ ปิ นักกิจกรรมทางสังคม

Victor Bernard

William Nicholas Gomes, Human Rights Defender and Freelance Journalist, UK

Yuyun Wahyuningrum, Senior Advisor on ASEAN and Human Rights, Human Rights Working Group (HRWG, Indonesia)

ภาคผนวก 1 – ข้อมูลเกี่ยวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน  

น.ส.พรเพ็ญเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนคนสำคัญของไทย มีประสบการณ์ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนหลายประการทั้งในไทยและในภูมิภาค ทั้งด้านสิทธิสตรี สิทธิชนพื้นเมือง และการป้องกันการบังคับบุคคลให้สูญหาย เป็นการดำเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะเพื่อให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบ และกดดันให้ทางการเคารพสิทธิมนุษยชนของบุคคลทั้งปวงอย่างไม่มีเงื่อนไข ในฐานะผู้อำนวยการและประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม น.ส.พรเพ็ญ และนายสมชายได้ติดตามและรายงานกรณีการซ้อมทรมานและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ และพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศอย่างสม่ำเสมอ

นายสมชายเป็นนักกฎหมายที่มีประสบการณ์และได้รับการยอมรับนับถือ ได้ดำเนินการเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนเป็นเวลา 25 ปี เขาเคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมายของไทย จนกระทั่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวถูกยกเลิกไปโดยรัฐบาลชุดปัจจุบัน เขายังเป็นประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และเชื่อมโยงภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมไทย มสผ.จัดกิจกรรมให้ความรู้ งานวิจัย และการสนับสนุนงานด้านกฎหมายเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนใต้ซึ่งมีปัญหาการขัดกันด้วยอาวุธต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ในเดือนกันยายน 2557 ทั้งน.ส.พรเพ็ญ และนายสมชายรวมทั้งหน่วยงานของพวกเขา ถูกดำเนินคดีหมิ่นประมาททางอาญาและความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จากการแจ้งความของหน่วยปฏิบัติการที่ 41 ต่อมาพนักงานอัยการมีความเห็นไม่สั่งฟ้องเมื่อเดือนมิถุนายน 2558 หลังมีการรณรงค์ระหว่างประเทศประณามการคุกคามและข่มขู่ต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยกองทัพไทย เนื่องจากพวกเขาเพียงแต่ปฏิบัติหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนที่ชอบด้วยกฎหมายและสำคัญ

น.ส.อัญชนาเป็นผู้อำนวยการกลุ่มด้วยใจ ซึ่งทำงานกับผู้เสียหายจากการปฏิบัติที่โหดร้ายในคดีเกี่ยวกับความมั่นคงตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ที่มีความขัดแย้ง ภายหลังการรายงานกรณีการซ้อมทรมานเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พันเอกสุรเทพ หัวหน้าฝ่ายหน่วยงานภาคประชาสังคมกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ได้ติดต่อน.ส.อัญชนาและนักกิจกรรมคนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงาน และเรียกตัวให้มาพูดคุย น.ส.อัญชนาได้ไปที่ค่ายสิรินธรจังหวัดยะลา และได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่เจ็ดนาย ใช้เวลารวมกันสองชั่วโมงครึ่ง เจ้าหน้าที่ได้สอบถามน.ส.อัญชนาเกี่ยวกับกรณีการซ้อมทรมานที่ระบุในรายงาน และได้แสดงความไม่พอใจต่อรายงานและขอให้นักปกป้องสิทธิมนุษยชนเสนอรายงานให้กอ.รมน.พิจารณาก่อนตีพิมพ์เผยแพร่ น.ส.อัญชนาปฏิเสธที่จะทำตาม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน[4] รายงานว่าประมาณห้าโมงเย็นวันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 กลุ่มชายฉกรรจ์ 10 คนในชุดลายพรางได้ไปหาน.ส.อัญชนาที่บ้านในจังหวัดสงขลา แต่เป็นบ้านแม่ของเธอ โดยไม่มีหมายคำสั่งใด พวกเขาอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน และได้ขอข้อมูลการทำงานและข้อมูลส่วนบุคคลของน.ส.อัญชนา แม่ของเธอให้ข้อมูลว่า ชายกลุ่มดังกล่าวได้ถ่ายภาพเธอและภาพของบ้านไว้ และได้ย้ำกับเธอให้แจ้งน.ส.อัญชนาว่าไม่ให้ใช้ Line หรือ Facebook

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

อนุชา วินทะไชย  +66 830796411

eakucl [at] gmail.com” href=”mailto:eakucl [at] gmail.com“>eakucl [at] gmail.com

indefenceofcrcf2014 [at] gmail.com” href=”mailto:indefenceofcrcf2014 [at] gmail.com“>indefenceofcrcf2014 [at] gmail.com

[1] https://voicefromthais.files.wordpress.com/2016/02/torture-report-english-as-of-10-feb-2016-realeased-version.pdf (อังกฤษ)

[2] มาตรา 14(1) พระราชบัญญัติการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

[3] โปรดดู ภาคผนวก 1 – ข้อมูลเกี่ยวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

[4] ที่มา https://tlhr2014.wordpress.com/2016/02/20/south_threaten/